วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายประเพณีไทย


คำว่า ประเพณี หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน, 2493 : 569)
-ประเพณี คือ ความประพฤติที่หมู่ชนหมู่หนึ่งถือเป้นธรรมเนียม หรือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอกแบบก็เป็นการผิดประเพณี (เสฐียรโกเศศ, 2500/ประเพณีไทย/บทนำ)
-ประเพณีเป็นเรื่องของพิธีปฎิบัติสืบๆ มามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคงไว้บ้างประเพณีไทยแสดงถึงความสัญลักษณ์ของชาติ(แปลก สนธิรักษ์, 2523: 193)
-โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี คือ สิ่งที่คนในสังคมส่วนรวมสร้างขึ้นให้เป็นมรดกที่ผู้เป็นทายาทจะต้องรับไว้และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งการเผยแพร่ แก่คนในสังคมอื่นอีกด้วย
ประเภทของประเพณี
ประเพณีนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. จารีตประเพณี (Mores) คือ ประเพณีที่ต้องประพฤติเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม ถือกันว่ามีคุณค่าต่อบุคคลในสังคมนั้นๆ ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม ถือเป็นความผิดความชั่วมีโทษ เช่น ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น
2. ขนบประเพณี (Institution) คือ ประเพณีที่วางเป็นระเบียบไว้ จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โดยตรง เช่น เขียนเป็นกฎหรือระเบียบให้กระทำร่วมกันมีข้ออ้างอิงเป็นตัวบทกฏเกณฑ์ โดยอ้อมหรือโดยปริยาย คือ รู้กันเอง ถือสืบๆกันมา คนในถิ่นนั้นปฎิบัติกันอย่างนั้นๆ เช่น ประเพณีทำบุณเลี้ยงพระของไทย เ็ป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมดาสามัญของสามัญชน ไม่ถือเอาผิดเอาถูก ไม่มีการลงโทษ ปรับไหมเหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี ผู้ทำผิดประเพณีนี้ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายหรือมีโทษมากนัก เพียงแต่ถือว่าผู้ผิดประเพณีเป็นผู้ไร้ีการศึกษา ขาดคุณสมบัติผู้ดี เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน อันไม่เหมาะสม เป็นต้น
ลักษณะของประเพณีไทย
ประเพณีไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ประเพณีส่วนบุคล ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีทำบุญอายุ เป็นต้น
2. ประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่างๆ เช่นประเพณีการทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทง ประเพณีเทศกาลสงกรานต์ และประเพณีวันสำคััุญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น